head-bantungfaek-min-1
วันที่ 18 กันยายน 2024 4:05 PM
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก
โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก
21

นายวาสนา โคตะขุน

ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก

โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก

โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก ตั้งอยู่ในบ้านห้วยตาม่วง เขต ต.แก้มอ้น อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2490  ด้วยความร่วมไม้ร่วมมือของชาวบ้านทุ่งแฝก ได้ร่วมมือร่วมใจในการปลูกสร้างเองในที่ดินของ นายบ้อง (ไม่ทราบนามสกุล)  ซึ่งเป็นอาคารเรียนชั่วคราว หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ไม่มีฝา มีนายลอย สามปั้น  เป็นครูและรักษาการตำแหน่งครูใหญ่เป็นคนแรก
ต่อมาใน

ปี  พ.ศ.2494  ได้ย้ายไปปลูกสร้างที่บริเวณใกล้ลำน้ำภาชี เป็นอาคารเรียนชั่วคราว โดยมีชาวบ้านได้ร่วมมือการสร้างเอง และ นายทองย้อย  โกญจนาท  เป็นครูและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ.  2498  นายสังวาลย์  สามปั้น  ผู้ใหญ่บ้านทุ่งแฝกในขณะนั้น ได้ปรึกษาชาวบ้าน เพื่อช่วยกันบริจาควัสดุ อุปกรณ์ เช่น วัสดุการก่อสร้าง เสา ไม้ และแรงกาย เป็นต้น
จากนั้นได้ทำการย้ายโรงเรียนมาปลูกสร้างในบริเวณที่ตั้งวัดทุ่งแฝกเจริญธรรมในปัจจุบัน  เนื่องจากในฤดูฝน น้ำได้ท่วมอาคารเรียน เป็นปัญหาในการจัดการเรียนการสอน และขณะนั้นมีนายทองอยู่ อ่อนแก้ว  เป็นครูและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาได้ขอย้ายไป
และได้มีนายบุญ ธิบดี เป็นครูและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ในปี พ.ศ. 2500 ได้งบประมาณ จากจังหวัดเป็นเงิน 2,000 บาท (สองพันบาทถ้วน) และแรงงานชาวบ้านเทพื้นซีเมนต์และกั้นฝาห้องเรียนปี พ.ศ. 2508 นายสุชาติ  เงียบรอด มาเป็นครูและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

ปี พ.ศ. 2510 มี นายบุญมา ชมชื่น  มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และนายผัน  ลำดวน มาเป็นครูสายผู้สอน รวมมีครูทั้งหมด 2 คน
ปี พ.ศ. 2511  ทางราชการส่งนายสุชาติเงียบรอด มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ มีข้าราชการครู  3  คน
วันที่  17  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2511 สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (องค์สมเด็จย่าของปวงชนชาวไทย) ได้ทรงเสด็จมาเยี่ยมราษฎรชาวบ้านทุ่งแฝกและชาวบ้านละแวกใกล้เคียงมาร่วมรับเสด็จอย่างมากมาย สมเด็จย่าทรงเข้าประทับในอาคารเรียนพร้อมได้พระราชทานสิ่งของ เครื่องใช้  อาหาร เสื้อผ้า และเวชภัณฑ์แก่ราษฎร คณะครู  นักเรียนที่มารับเสด็จ ทรงสร้างความปราบปลื้มปิติแก่ทวยราษฎร์อย่างยิ่ง

ปี พ.ศ. 2513  องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้มาสร้างอาคารเรียน 1 หลัง แบบ ป.1 ก. ขนาด  4 ห้องเรียน งบประมาณการก่อสร้าง 260,000 บาท และนายเล็ก อินจ่าย ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นได้บริจาคมอบที่ดินให้โรงเรียนใช้ประโยชน์ เนื้อที่ประมาณ  57  ไร่ สร้างเสร็จเมื่อวันที่  3 พฤษภาคม  2514ปีพ.ศ. 2516  ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครูจำนวน 1 หลัง แบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการตรวจรับมอบเมื่อวันที่  27  พฤศจิกายน  2516  โดยมีนายเป๋า  เอี่ยมชื่น เป็นประธานกรรมการตรวจรับขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอจอมบึง

ปี พ.ศ. 2520  ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี สร้างอาคารเรียนเพิ่มอีกหนึ่งหลัง แบบ ป.1 ก. ขนาด  4  ห้องเรียน  ได้เปิดขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีนักเรียนทั้งสิ้น 156  คน ข้าราชการครู  9 คน1 ตุลาคม 2523 โรงเรียนโอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

ปี พ.ศ. 2525  นายสุชาติ  เงียบรอด  ครูใหญ่ ลาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยาเขตบางแสน) ในระดับปริญญาตรี นายวิทยา   การะเกตุ  รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ (ชั่วคราว) เป็นเวลา 2 ปี
ปี พ.ศ. 2527  นายสุชาติ   เงียบรอด  จบการศึกษากลับมาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งครูใหญ่ และได้ลาออกในปี พ.ศ. 2530

ผู้อำนวยการ

9 ตุลาคม  พ.ศ. 2530  นายวิบูลย์  ทองเอีย ครูใหญ่โรงเรียนบ้านพุตะเคียน สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอจอมบึง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ แต่ได้เสียชีวิตลงในวันที่  5  มิถุนายน พ.ศ. 2540 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว
1 สิงหาคม พ.ศ. 2540  นายชัยรัตน์  เกิดทรัพย์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโกรกสิงขร  สปอ.จอมบึง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และพัฒนาปรับปรุงสถานศึกษา เป็นตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก ได้โอนไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ราชบุรี เขต 1 สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
5 ตุลาคม พ.ศ. 2547  นายวิทยา    การะเกตุ อาจารย์ 2 ระดับ  7 โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก ปฏิบัติหน้าที่ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งแฝก (ชั่วคราว)
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547  นางกัลยา คุ้มญาติ   ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านหนองปากชัฏ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก และวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จากตำแหน่งอาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

2 เมษายน 2549 นางกัลยา  คุ้มญาติ ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพุตะเคียน นายวิทยา การะเกตุ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
4 เมษายน 2549 นายเสงี่ยม  เมฆนาคา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพุตะเคียน มาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งแฝก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2555  นายวิทยา    การะเกตุ   ครู  ชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก ปฏิบัติหน้าที่ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งแฝก (ชั่วคราว)
17  ตุลาคม  2555  นายเจริญชัย  วิวัฒน์สกุลไทย  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโกรกสิงขร  มาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งแฝก
1  พฤศจิกายน  2562  นางสาวพัชรี  ซิ้มเล่มกิม  ครู ชำนาญการ  โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก  ปฏิบัติหน้าที่ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งแฝก (ชั่วคราว)
1  มีนาคม  2562  นายวาสนา  โคตะขุน  ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งแฝก

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านทุ่งแฝก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีห้องเรียน 9 ห้อง มีนักเรียน 121 คน ข้าราชการครู 8 คน พี่เลี้ยงเด็กพิการ 1  คน ครูผู้ทรงคุณค่า  1  คน  เจ้าหน้าที่ธุรการ  1  คน  ลูกจ้างชั่วคราว 1 คน
ผู้อำนวยการสถานศึกษาชื่อ  นายวาสนา  โคตะขุน  วุฒิการศึกษา ป.บัณฑิต  สาขา  การบริหารการศึกษา
ดำรงตำแหน่งนี้ที่โรงเรียนตั้งแต่  วันที่  1  มีนาคม  2562  ถึงปัจจุบัน  เป็นเวลา  1  เดือน

วิสัยทัศน์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีความรู้คู่คุณธรรม ก้าวนำเทคโนโลยี  มีสุขภาพที่ดี  รักษ์สิ่งแวดล้อม  น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจโรงเรียน
จัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียน  มีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
นำเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร  (ICT)  มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
จัดสภาพแวดล้อมที่ดี  มีความสะอาด  สวยงาม  ร่มรื่นและมีความปลอดภัย
พัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกรักษ์ความเป็นไทย  และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรักการออกกำลังกาย  มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพดี  สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สติปัญญาและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขให้ความเสมอภาคทางการศึกษา  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน

เป้าประสงค์โรงเรียน
ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ผู้เรียนมีเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร  (ICT)  ที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนและบริหารจัดการ
ผู้เรียนทุกคนมีความสุข  ปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงเรียน
ผู้เรียนมีจิตสำนึกในความเป็นไทย  และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้เรียนมีสุขภาพสมบูรณ์และสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข
ผู้เรียนในวัยเรียนทุกคนในเขตบริการของโรงเรียนได้รับการศึกษา  โดยมีชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษา

Banner 1
Banner 2
Banner 3
Banner 4